การประเมินเคสอย่างรวดเร็ว

การประเมินเคส อย่างรวดเร็ว

การคัดแยกผู้ป่วย หรือผู้บาดเจ็บ ในจุดเกิดเหตุอย่างรวดเร็ว เพื่อจัดกลุ่มในเบื้องต้น (ในกรณีเกิดภัยหมู่ มีจำนวนหลายราย) การคัดแยกไม่ต้องใช้ข้อมูลมาก โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ก่อน คือ

  1. เดินได้ : ลุกเดินเองได้ ถาม-ตอบรู้เรื่อง เล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ ให้จัดอยู่ในกลุ่มสีเขียวไว้ก่อน
  2. เดินไม่ได้ : ลุกเดินเองไม่ไหม อาจมีขาหัก หรือแผลเปิดขนาดใหญ่
การประเมินเคส

สำหรับผู้ที่เดินไม่ได้ ใช้หลักประเมิน C-A-B

C : Circulation (ประเมินการไหลเวียนเลือด) โดยการตรวจ Capillary refill time กดเล็บของผู้ป่วย หรือผู้บาดเจ็บนาน 5 วินาทีแล้วปล่อย
– ถ้า Capillary refill time สีปกติของเล็บกลับมามากกว่า 2 วินาที ให้จัดอยู่ในกลุ่มสีแดง (T1)
– ถ้า Capillary refill time สีปกติของเล็บกลับมาน้อย 2 วินาที ให้จัดอยู่ในกลุ่มสีเหลือง (T2)

A : Airway (ประเมินช่องทางหายใจ) ผู้ที่ไม่หายใจ ให้รีบเปิดทางเดินหายใจ โดยการทำ head tilt chin lift (กดหน้าผากและยกคางให้แหงนขึ้น) หรือ jaw thrust (ยกขากรรไกรล่าง กรณีบาดเจ็บที่กระดูกคอ)
– ถ้าเปิดทางเดินหายใจไม่เป็นผล ให้จัดอยู่ในกลุ่มสีดำ
– ถ้าเปิดทางเดินหายใจเป็นผล ให้จัดอยู่ในกลุ่มสีแดง (T1)

B : Breathing (ประเมินการหายใจ) โดยสำรวจดูการหายใจ
– น้อยกว่า 9 ครั้ง หรือมากกว่า 30 ครั้ง/นาที ให้จัดอยู่ในกลุ่มสีแดง (T1)
– อยู่ระหว่าง 10-29 ครั้ง จัดอยู่ในกลุ่มสีเขียว


The Rescue® เริ่มมาเมื่อ 9/9/2013 (พ.ศ. 2556)

โดยมีสโลแกน ว่า #ทุกภารกิจมีชีวิตเป็นเดิมพัน เริ่มเผยแพร่ครั้งแรก เมื่อ 31 ธ.ค. 2558 ก่อนจะนำไปใช้กันทั่วประเทศ จนถึงทุกวันนี้

เห็นมีแต่เสื้อกู้ภัยแขนยาว สีแสบตา สกรีนฟอนต์ Angsana เลยอยากให้กู้ภัยไทยมีเสื้อยืดเท่ ๆ ใส่

จึงเริ่มต้นด้วยคอนเซป แฟชั่น x ฟังก์ชั่น – เสื้อกู้ภัย ใส่เที่ยวได้