การประเมินเคส ผู้ป่วย-ผู้บาดเจ็บ

การประเมินอาการ ผู้ป่วย-ผู้บาดเจ็บ
การประเมินอาการ ผู้ป่วย-ผู้บาดเจ็บ

การคัดแยกผู้ป่วย หรือผู้บาดเจ็บ ณ จุดเกิดเหตุอย่างรวดเร็ว เพื่อจัดกลุ่มในเบื้องต้น การคัดแยกไม่ต้องใช้ข้อมูลมาก โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ก่อน คือ 1. เดินได้ 2. เดินไม่ได้

อ้างอิง : ศูนย์แพทย์ภัยพิบัติและฉุกเฉินเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์

สำหรับผู้ที่เดินไม่ได้ ใช้หลักประเมิน XABCDE (จากเดิมคือ ABC)

X = Exsanguination hemorrhage Control arterial bleeding การห้ามเลือดจากแผลภายนอกที่ออกจากหลอดเลือดแดงอย่างรุนแรง โดยมี 3 วิธีดังนี้

– Direct Pressure ห้ามเลือดโดยการกดลงที่แผลอย่างน้อย 10 นาที

– Pressure Dressing ใช้ผ้าพันแผล (Elastic Bandage) เพื่อห้ามเลือด

– Tourniquet ขนาดที่เหมาะสมต้องกว้างไม่ต่ำกว่า 1.5 นิ้ว โดยรัดเหนือบาดแผล 5-10 ซม. และจดบันทึกเวลา

A = Airway and Cervical spine protection ดูแลทางเดินหายใจ +C-spine ดูแลกระดูกคอ

โดยการทำ head tilt chin lift (กดหน้าผากและยกคางให้แหงนขึ้น) Trauma jaw thrust (ยกขากรรไกรล่าง กรณีบาดเจ็บที่กระดูกคอ) หรือ Trauma Chin lift (ยกขากรรไกรล่าง อีกคนดึงคาง)

หรือแบบใช้อุปกรณ์

– Oropharyngeal airway (ทำโดย EMT ขึ้นไป โดยศูนย์สั่งการฯ สั่งเท่านั้น)

– Nasopharyngeal airway (ทำโดยผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น)

ถ้าเปิดทางเดินหายใจไม่เป็นผล ให้จัดอยู่ในกลุ่มสีดำ

ถ้าเปิดทางเดินหายใจเป็นผล ให้จัดอยู่ในกลุ่มสีแดง

B = Breathing and Ventilation ประเมินการหายใจ

หลักการ : ตาดู หูฟัง และสัมผัส

– หายใจได้ : ดูว่าหายใจเร็วหรือช้าไหม, หายใจสม่ำเสมอไหม, ค่าออกซิเจนในเลือดปกติไหม

– หายใจไม่เพียงพอ : ให้ออกซิเจน, ขอทีม Advance สนับสนุน

อุปกรณ์ที่ใช้ช่วยเพิ่มออกซิเจน

– Nasal Cannular

– Simple face mask

– Non-rebreathing mask with reservoir bag

– Bag valve mask

C = Circulation and Hemorrhagic control การไหลเวียนเลือด และการเสียเลือด

วิธีตรวจสอบเบื้องต้น

– สีผิวและอุณหภูมิ (Skin) ซีดไหม เหงื่อออกไหม ตัวเย็นไหม

– การคลำชีพจร (Pulse) เต้นช้า-เร็วไหม ความแรงสม่ำเสมอไหม จังหวะสม่ำเสมอไหม

– ตรวจ Capillary refill time กดเล็บของผู้ป่วย หรือผู้บาดเจ็บนาน 5 วินาทีแล้วปล่อ

– ถ้า Capillary refill time สีปกติของเล็บกลับมามากกว่า 2 วินาที ให้จัดอยู่ในกลุ่มสีแดง

– ถ้า Capillary refill time สีปกติของเล็บกลับมาน้อย 2 วินาที ให้จัดอยู่ในกลุ่มสีเหลือง

D = Disability การประเมินระบบประสาท

ระดับการรู้สึกตัว (Level of concious)

– A รู้สึกตัวดี (Alert)

– V ตอบสนองต่อเสียงเรียก (Response to Verbal)

– P ตอบสนองต่อความเจ็บปวด (Response to Pain)

– U ไม่รู้สึกตัว (Unresponsive)

Disability (การประเมินระบบประสาท) กระตุ้นด้วยความเจ็บปวด

– การกดที่ปลายเล็บ

– กดที่กล้ามเนื้อบริเวณหัวไหล่ด้านหลัง (Trapezius)

– กดที่ขอบตาบน (Supraorbital Notch)

ระดับการรู้สติ (Level of concious) E-V-M

E : Eye response

– E1 ไม่ลืมตา

– E2 ลืมตาเมื่อเจ็บ

– E3 ลืมตาเมื่อเรียก

– E4 ลืมตาได้เอง

V : Verbal response

– V1 ไม่ออกเสียง

– V2 ออกเสียงไม่เป็นภาษา (ไม่มีความหมาย)

– V3 ออกเสียงเป็นภาษา เป็นคำ ๆ (มีความหมาย)

– V4 ออกเสียงเป็นประโยค แต่สับสน

– V5 พูดคุย ถามตอบรู้เรื่อง

M : Motor response

– M1 ไม่ขยับ

– M2 แขน ขา เหยียดเกร็ง

– M3 แขน ขา งอแบบผิดปกติ

– M4 ขยับเมื่อเจ็บ แต่ปัดไม่ถูกตำแหน่งเจ็บ

– M5 เอามือปัดตำแหน่งเจ็บได้

– M6 ทำตามคำสั่งได้

E = Exposure and Environmental control

– เปิดเสื้อผ้าออก ดูบาดแผลเพิ่มเติมทั่วร่างกาย

– ดูแขนขาบวม มีแผลกดทับหรือไม่


The Rescue® เริ่มมาเมื่อ 9/9/2013 (พ.ศ. 2556)

โดยมีสโลแกน ว่า #ทุกภารกิจมีชีวิตเป็นเดิมพัน เริ่มเผยแพร่ครั้งแรก เมื่อ 31 ธ.ค. 2558 ก่อนจะนำไปใช้กันทั่วประเทศ จนถึงทุกวันนี้

เห็นมีแต่เสื้อกู้ภัยแขนยาว สีแสบตา สกรีนฟอนต์ Angsana เลยอยากให้กู้ภัยไทยมีเสื้อยืดเท่ ๆ ใส่

จึงเริ่มต้นด้วยคอนเซป แฟชั่น x ฟังก์ชั่น – เสื้อกู้ภัย ใส่เที่ยวได้